Entries by Jan Interlaw

บริษัท เจ.เอ.เอ็น. อินเตอร์ ลอว์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมวายดับเบิลยูซีเอ พัทยา เข้าแจกจ่ายสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ชุมชนเขามะกอก 13

วันที่ 1 พฤษภาคม​ 2563 เวลา 16.00 น. สำนักงานกฎหมาย เจ.เอ.เอ็น. อินเตอร์​ ลอว์​ #JANINTERLAW​ ร่วมกับ สมาคมวายดับเบิลยูซีเอพัทยา #YWCApattaya พร้อมพันธมิตร และคุณหมอทีมแพทย์สนาม ลงพื้นที่ชุมชน นอกเมืองพัทยา ซอยเขามะกอก13 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แจกอาหาร สิ่งของจำเป็น ยารักษาโรค แก่ชาวบ้าน ชุมชน เด็ก และผู้สูงวัย เพื่อช่วยกระจายความช่วยเหลือให้ทั่วถึงแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนและผล กระทบจากวิกฤติโควิท19😖😖 ขอขอบคุณ❤️❤️สมาคม YWCA โดยพี่หน่อย Khun Nhoi Pattaya YWCA Pattaya คุณหมอ เจ้าหน้าที่ จิตอาสา พันธมิตรต่างๆ ตลอดจนผู้เสียสละทุกท่านซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ โดยโครงการนี้ YWCA ได้ดำเนินการมาตลอด 15 วัน  ขอขอบคุณทีมงาน บริษัท เจ.เอ.เอ็น. อินเตอร์​ลอว์ จำกัด […]

ประกาศกระทรวงแรงงาน วันที่ 21 เมษายน 2563 ว่าด้วยเรื่องงานที่คนต่างด้าวห้ามทำ

ประกาศกระทรวงแรงงานล่าสุด ฉบับลงวันที่ 21 เมษายน 2563 ว่าด้วยเรื่องงานที่คนต่างด้าวห้ามทำ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/092/T_0014.PDF

ประกาศเรื่องการอนุญาตให้ชาวต่างชาติบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

ประกาศจากกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 เมษายน 2563 เรื่องการอนุญาตให้ชาวต่างชาติบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยให้ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยหรือตรวจลงตราที่ยังไม่หมดอายุก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2563 อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย และขยายเวลาการแจ้งที่พักอาศัยตาม ม. 37(5) จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

สิทธิของลูกจ้าง อันเกิดจากการปิดกิจการชั่วคราว

พรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 75  บัญญัติ ไว้ว่า กรณีนายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว  ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนเริ่มวันหยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน ว่าง่ายๆคือ นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างใน 75% ของค่าจ้างปกติครับ  ทั้งนี้เงินจำนวนดังกล่าวเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามมาตรานี้  ไม่ใช่ค่าจ้าง แต่เป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายกรณีปิดกิจการชั่วคราวครับ  โดยเงื่อนไขตามมาตรานี้สามารถแยกออกมาได้ คือ 1. นายจ้างจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราว คำว่าจำเป็นนั้น ต้องเป็นความจำเป็นอันถึงขนาดที่มีผลต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ มิใช่เหตุจำเป็นเล็กๆน้อยๆ เช่น ถูกยกเลิกสินค้าจำนวนมาก และอาจมีผลถึงความมั่นคงของบริษัท เป็นต้น 2. เกิดจากเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย คำว่าสุดวิสัย ตาม ปพพ. มาตรา 8  หมายถึง เหตุใดๆที่เกิดขึ้น เป็นผลให้เกิดความพิบัติ เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้  แม้ว่าบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นแล้ว กรณีที่มิใช่เหตุสุดวิสัย เช่น การบริหารงานผิดพลาดของบริษัท ทำให้กิจกรรมประสบปัญหา นายจ้างประมาทเลินเล่อทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงงานเป็นต้น กรณีสถานการณ์ปัจจุบัน หากนายจ้างถูกภาครัฐสั่งปิดกิจการ เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ต้องจ่ายเงิน […]

คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อวันที่ 11 เมย. 2563

คำสั่งด่วน!!! คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 16 สั่งปิดร้านขายสุรา ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 (ยังจำหน่ายสินค้าอื่นได้) ห้ามจำหน่าย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน แอลกอฮอล์ทุกประเภท ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 ห้ามเคลื่อนย้าย ลำเลียง ขนส่ง แอลกอฮอล์ทุกประเภท ถึง 30 เมษายน 2563 ห้ามดื่มแอลกอฮอล์นอกเคหะสถานโดยเด็ดขาด ถึง 30 เมษายน 2563

สิทธิเบื้องต้นของแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง

กรณีที่หากบริษัทที่ทำงานต้องการเลิกจ้างลูกจ้าง พนักงาน ตามพรบ. คุ้มครองแรงงาน มีมาตรการให้การช่วยเหลือลูกจ้างกรณีถูกเลิกจ้างดังนี้ มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง 1.ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 2.ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 3.ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 4. ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน 5.ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน 6.ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย […]

ประกาศเนื่องด้วยสถานการณ์ไวรัส โควิท-19

เนื่องด้วยสถานการณ์ไวรัสโควิท-19 ทางบริษัทยังคงให้บริการตามปกติ บริษัทมีมาตรการเพื่อสุขอนามัย โดยขอความร่วมมือให้ลูกความทุกท่านใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีให้บริการอยู่ในสำนักงาน และหลังจากจัดการประชุมจะมีการทำความสะอาดทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของพนักงานและลูกความทุกท่าน ด้วยความห่วงใย

คดีอุทลุมคือะไร

คดี อุทลุม คำว่าอุทลุม ตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิยสภาระบุเอาไว้ แปลว่า  ผิดประเพณี ผิดธรรมะ นอกแบบ นอกทาง  ซึ่งในทางกฎหมายนั้น หมายถึง บุตรที่ฟ้องคดีต่อบุพการีผู้มีพระคุณของตน ซึ่งในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายโบราณของไทย มีกล่าวถึงกรณีดังกล่าวเอาไว้ว่า เช่น ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน ซึ่งกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทย มีการนำเอากฎหมายตราสามดวง มาปรับใช้ด้วยอันเป็นจากบ่อเกิดตามประเพณีของไทย ตามมาตรา1562 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” คำว่าบุพการีนั้น หมายความถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด โดยทางสายโลหิตเท่านั้น  บุตรบุญธรรมสามารถฟ้องบิดามารดา บุญธรรมได้  โดย ฎีกาที่ 547/2548 ท่านว่า  ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ซึ่งตามฎีกานี้บิดาที่มิได้จดทะเบียนรับรองบุตร และบุตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถฟ้องได้ กรณีที่น่าสนใจและเกิดขึ้นได้บ่อยคือ การที่จะฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น การฟ้องโดยฐานะที่เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์ ไม่เป็นคดีอุทลุม สามารถนำคดีมาฟ้องได้ […]

ข้อกฎหมายอาญาเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์

จากข่าวเข้าชิงทรัพย์โดยนำอาวุธเข้าไปทำร้ายและสังหารผู้คนในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ทางแอดมินเพจได้ยินผู้คนกล่าวถึงกันมากมาย ว่าคนร้ายเข้าไปขโมยทองบ้าง ชิงทรัพย์ หรือ โจรปล้นทองบ้าง จึงขออธิบายข้อกฎหมายให้เข้าใจ ถึงความแตกต่างว่า ลักขโมย วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือ ปล้นทรัพย์ที่เราๆ พูดกันนั้น แท้จริงทางข้อกฎหมายมีความแตกต่างกันอย่างไร ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติถึงฐานความผิดของการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ทั้งสี่ไว้ดังนี้ ม. 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ซึ่งอย่างเราๆ ทั่วไปจะเรียกสิ่งนี้ว่า โจรขโมยของ โจรยกเค้าบ้าน คำว่าลักทรัพย์ตามมาตรานี้นั้น จึงหมายถึงการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตัวเองนั่นเอง ม.336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ว่ากันง่ายๆ คือ การวิ่งราว คือการที่มีคนขโมยของต่อหน้าต่อตาเจ้าของทรัพย์ ซึ่งกรณีการวิ่งราวทรัพย์นั้น หากคนร้ายมีพฤติกรรมพิเศษ เช่นให้คนอื่นๆ ได้รับอันตราย ก็จะมีอัตราโทษเพิ่มขึ้นไปด้วย ม. 339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (4) […]

บริษัท เจ.เอ.เอ็น. อินเตอร์ ลอว์ จำกัด เข้าพบพูดคุย ณ สำนักงาน กฎหมาย BKL ณ สาธารณรัฐเกาหลี

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2562 ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท เจ.เอ.เอ็น. อินเตอร์ ลอว์ จำกัด ได้มีโอกาสนัดเข้าพบกับ Ms. Kyongwha Chung ทนายความและพาร์ทเนอร์ สำนักงานกฎหมาย BKL ณ สาธารณรัฐเกาหลี พร้อมทั้งได้หารือกฎหมายระหว่างประเทศและแง่มุมทางกฎหมายระหว่างประเทศไทย และ สาธารณรัฐเกาหลี