คดีอุทลุมคือะไร

คดี อุทลุม คำว่าอุทลุม ตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิยสภาระบุเอาไว้ แปลว่า  ผิดประเพณี ผิดธรรมะ นอกแบบ นอกทาง  ซึ่งในทางกฎหมายนั้น หมายถึง บุตรที่ฟ้องคดีต่อบุพการีผู้มีพระคุณของตน ซึ่งในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายโบราณของไทย มีกล่าวถึงกรณีดังกล่าวเอาไว้ว่า เช่น ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน

ซึ่งกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทย มีการนำเอากฎหมายตราสามดวง มาปรับใช้ด้วยอันเป็นจากบ่อเกิดตามประเพณีของไทย ตามมาตรา1562 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้”

คำว่าบุพการีนั้น หมายความถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด โดยทางสายโลหิตเท่านั้น  บุตรบุญธรรมสามารถฟ้องบิดามารดา บุญธรรมได้  โดย ฎีกาที่ 547/2548 ท่านว่า  ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น
ซึ่งตามฎีกานี้บิดาที่มิได้จดทะเบียนรับรองบุตร และบุตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสามารถฟ้องได้

กรณีที่น่าสนใจและเกิดขึ้นได้บ่อยคือ การที่จะฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น การฟ้องโดยฐานะที่เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์ ไม่เป็นคดีอุทลุม สามารถนำคดีมาฟ้องได้ ซึ่งกรณีนี้ผู้ฟ้องต้องพิจารณาให้ดีก่อนตั้งคำฟ้องสู่ศาล

อย่างไรก็ดี มาตรา1562 ได้เปิดช่องให้คดีที่บุตรเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องได้โดย ญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ ซึ่งโจทก์ในคดีลักษณะนี้จะเป็นอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี